เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งาน
ของเครือข่าย ดังนี้
1. เครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Network :PAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ระยะใกล้ และมีการเชื่อต่อแบบไร้สาย
รูปที่ 1.18 เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน ที่มา : http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Bluetooth_Technology/TTE_52_1_b.PNG |
2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน ( Local Area Network :LAN)
เครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่นภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้น อาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่าเครือข่ายที่พักอาศัย(home network) ซึ่งอาจเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สาย
รูปที่ 1.19 เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน |
รูปที่ 1.20 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน ที่มา : http://comteching.blogspot.com/2014/09/man.html |
4. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network :WAN)
เครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยุ่ไกลจากกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาค รวมไปถึงเครือข่ายระหว่างประเทศ
รูปที่ 1.21 เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน ที่มา : https://greentae.files.wordpress.com/2013/01/4image24.jpg |
4.1 ลักษณะของเครือข่าย
ในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน สามารถแบ่งลักษณะของเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ ดังนี้1. เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ หรือไคลแอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client-Server Network )
จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครื่องให้บริการต่าง ๆ เช่น บริการเว็บ และบริการฐานข้อมูล การให้บริการขึ้นอยู่กับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ เช่น การเปิดเว็บเพจ เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องให้บริการเว็บ จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการ
รูปที่ 1.22 เครือข่ายแบบรับ - ให้บริการ ที่มา : http://www.wimut.ac.th/61/22/420.jpg |
ข้อดี คือ สามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมาก
ข้อด้อย คือ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาค่อนข้างสูง
2. เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer Network : P2P network)
เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการ.การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรม และเกม เครือข่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต การใช้งานจะมีซอฟต์แวร์เฉพาะ เช่น โปรแกรม eDonkey , BitTorrent และ LimeWire
รูปที่ที่ 1.23 เครือข่ายระดับเดียวกัน ที่มา : http://www.wimut.ac.th/61/22/421.jpg |
ข้อดี คือ ง่ายต่อการใช้งานและราคาไม่แพง
ข้อด้อย คือ ไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัย จึงอาจพบว่านำไปใช้ในทางไม่ถูกต้อง เช่น การแบ่งปัน เพลง ภาพยนตร์และโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
4.2 รูปร่างเครือข่าย
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายมีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะทางกายภาพที่เรียกว่ารูปร่างเครือข่าย (network topology) แบ่งตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้ 4 รูปแบบ คือ1. เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นรูปแบบที่มีสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวที่เรียกว่า บัส (bus) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงไปทุกสถานีได้ ซึ่งวิธีการจัดส่งต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้เกิดการชนกัน (collision) ของข้อมูล โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้คลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณที่แตกต่างกัน เครือข่ายแบบบัสไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบัสเพียงจุดเดียวจะส่งผลให้ทุกอุปกรณ์ไม่สามารถสื่อสารถึงกันได้
รูปที่ 1.24 รูปร่างเครือข่ายแบบบัส ที่มา : http://www.ro.ac.th/mongkolro/scoretest2/image/bus.jpg |
2. เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology) เป็นการเชื่อมต่อแต่ละละสถานี มีลักษณะเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับ หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด สถานีนั้นก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป ซึ่งระบบเครือข่ายแบบวงแหวนนี้ สามารถรองรับจำนวนสถานีได้เป็นจำนวนมาก ข้อด้อยคือ สถานีจะต้องรอจนถึงรอบของตนเองก่อนที่จะสามารถส่งข้อมูลได้
รูปที่ 1.25 รูปร่างเครือข่ายแบบวงแหวน ที่มา : http://www.ro.ac.th/mongkolro/scoretest2/image/ring.jpg |
3. เครือข่ายแบบดาว (star topology) เป็นการเชื่อมต่อสถานีในเครือข่ายโดยทุกสถานีจะต่อ
เข้ากับหน่วยสลับสายกลาง เช่น ฮับ(hub) หรือสวิตซ์ (switch) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าสถานีใดเสียหรือสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ สวิตซ์ชำรุด จะไม่กระทบต่อการเชื่อมต่อของสถานีอื่น ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบนี้จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
รูปที่ 1.26 รูปร่างเครือข่ายแบบดาว ที่มา : http://www.ro.ac.th/mongkolro/scoretest2/image/sendatastar.jpg |
4. เครือข่ายแบบเมช (mesh topology) เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อ ที่มีความนิยมมาก และมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากถ้ามีเส้นทางการเชื่อมต่อคู่ใดคู่หนึ่งขาดจากกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่นั้นยังสามารถติดต่อได้โดยอุปกรณ์จัดการเส้นทาง (router) จะทำการเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ไปยังจุดหมายปลายทางอัตโนมัติ การเชื่อมต่อแบบนี้นิยมสร้างบนเครือข่ายแบบไร้สาย
รูปที่ 1.27 รูปร่างเครือข่ายแบบเมช ที่มา : https://evrak.files.wordpress.com/2011/11/mesh.gif |
>> คลิกทำแบบฝึกหัด